ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์.
ปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียนตอนบนเป็นประจำแทบทุกปี ถึงแม้ว่าโดยปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานได้ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทำความเข้าใจปัญหาไฟป่าและหมอกควันกันมากขึ้น ตลอดจนได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลความรู้เพื่อการบริหารจัดการไฟป่าและหมอกควันประจำภูมิภาคอาเซียน (Regional Fire Management Resource Center – Southeast Asia Region, RFMRC-SEA) ที่ประเทศอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยโบกอร์ เมื่อกลางปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม แต่ศูนย์ฯดังกล่าวศึกษาและให้ข้อมูลเฉพาะไฟและหมอกควันที่เกิดจากป่าพรุเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและพืชพรรณที่แตกต่างจากอาเซียนตอนบนอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งผลจากการศึกษาของหลาย ๆ หน่วยงานนั้น พบว่าการศึกษามิได้ลึกซึ้งเข้าถึงศาสตร์และศิลป์ของไฟป่าและหมอกควันอย่างแท้จริง ส่งผลให้ไม่มีคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้านไฟป่าและหมอกควันรองรับในหลายๆด้าน ทำให้การเข้าใจและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของประเทศไทยและอาเซียนตอนบนไม่ตรงจุดและอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจปัญหาอย่างผิวเผิน ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน (หรือลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง) ภายใต้ศูนย์วิจัยป่าไม้ จึงเป็นการต่อยอดจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานด้านไฟป่าและหมอกควันทั้งในและต่างประเทศที่ได้ร่วมมือกันมา เช่น Fire Information for Resource Management System (FIRMS)-NASA-LANCE-Earthdata-Rapid Response Team, Global Fire Monitoring Center (GFMC), The Copernicus Atmosphere Monitoring Service (CAMS), Global Fire Assimilation System, The European Centre for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF), ACT Emergency Services Agency, Asia Forest Fire Training and Landmark Program and Korean Forest Service Republic of Korea, Canadian Forest Service, Academia Sinica Grid Computing Centre (ASGC)-Taiwan GRID, Asia Pacific Advanced Network (APAN) Disaster Mitigation Working Group, กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อร่วมกันประสานความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้เฉพาะทาง พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจไฟป่าและหมอกควันบนพื้นฐานศาสตร์และศิลป์ด้านไฟป่าและหมอกควันที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
1. เพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน 2. เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยด้านการจัดการไฟป่า หมอกควันรวมไปถึงนิเวศวิทยาไฟป่าและหมอกควันที่สนใจมาทำงานศึกษา ทำความเข้าใจและวิจัยร่วมกัน 3. เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการไฟป่าและหมอกควันที่เหมาะสมกับบริบทของภูมิภาคอาเซียนตอนบน 4. เพื่อดำเนินการประสานงาน ร่วมทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้ข้อคิดเห็นและประสพการณ์ กับเครือข่ายจัดการและวิจัยไฟป่า หมอกควันในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
ร่วมกันกับเครือข่ายการจัดการและการวิจัยไฟป่าในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งปัจจุบัน มีเครือข่ายต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ โดยมี Global Fire Monitoring Center (GFMC) เป็นหน่วยประสานงานกลางคือทำหน้าที่เป็น Fire Management Resource Center ดังแสดงในภาพที่ 1. ซึ่งเครือข่ายต่างๆ เหล่านี้มีการประชุมหารือกันเป็นประจำเช่น Wildland Fire Conference ที่จัดทุกๆ 4 ปี เพื่อพัฒนางานการจัดการไฟป่าของโลกให้ก้าวหน้า ทันสมัย ตอบสนองต่อสถานการณ์ป่าโลกในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยการจัดทำเอกสารตำรา สื่อ เผยแพร่ผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงข้อมูลด้านไฟป่าให้มีความทันสมัย รวมทั้งการจัดประชุมเสวนา ถ่ายทดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับไฟป่าและหมอกควันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ที่มา: Global Fire Monitoring Center (GFMC) ภาพที่ 1. เครือข่ายการวิจัยและการจัดการไฟป่าในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
ศูนย์วิจัยไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมกลุ่มนักวิจัยที่สนใจในงานด้านไฟป่าและหมอกควันเพื่อมำทำงานร่วมกันในลักษณะการบูรณาการองค์ความรู้ เครื่องมือ กลุ่มเครือข่ายนักวิจัย และการเสริมสร้างเครือข่ายไฟป่ากับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกที่ทำงานในลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งงานทางด้านไฟป่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มนักวิจัยในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคราชการต่างๆ โดยเฉพาะในกระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศทางด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานเครือข่ายไฟป่าต่าง หลายส่วน เช่น 1. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3. คณะและศูนย์ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 4. กรมป่าไม้ 5. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 6. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 7. กรมควบคุมมลพิษ 8. RECOFTC 9. IUCN Thailand 10. UNDP Thailand 11. Global Fire Monitoring Center (GFMC) 12. National Aeronautics and Space Administration (NASA) - The Land, Atmosphere Near real-time Capability for EOS (LANCE) - Fire Information for Resource Management System (FIRMS)-FIRMS and Rapid Response 13. European Center for Medium range Weather Forecasting (ECMWF) - The Copernicus Atmosphere Monitoring Service (CAMS) 14. Global Forest Watch (GFW) 15. United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNISDR) 16. National Institute of Forest Science (NIFoS), Republic of Korea 17. Asia Pacific Association of Forestry Research Institutions (APAFRI) 18. ZEBRIS Jürgen Brendel und Gernot Rücker GbR 19. U.S. Naval Research Laboratory, Marine Meteorology Division, U.S. Navy 20. Academia Sinica Grid Computing Centre (ASGC)-Taiwan GRID 21. Asia Pacific Advanced Network (APAN) Disaster Mitigation Working Group 22. NASA Goddard Institute for Space Studies, Columbia University 23. National Astronomical Research Institute of Thailand 24. หน่วยงานและเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันต่าง ๆ
หน่วยงานด้านการศึกษาและหน่วยงานที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานไฟป่าและหมอกควันต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นมีบทบาทในด้านการสนับสนุนองค์ความรู้ กลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ เครื่องมือการทำวิจัย เพื่อการบูณรณาการทำงานวิจัยซึ่งปัจจุบันแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวนมากต้องการเน้นงานวิจัยที่มีการบูรณาการ ในขณะที่หน่วยงานภาคราชการ โดยเฉพาะ กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ที่เป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ซึ่งปฏิบัติงานควบคุมป้องกันไฟป่า มีบทบาทในฐานะเป็นผู้สนับสนุนภารกิจในพื้นที่ซึ่งมีความเข้าใจในบริบทของการจัดการและควบคุมไฟป่าที่ดี มีประสบการณ์ในงานด้านไฟป่าและหมอกควัน อีกทั้งยังเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากไฟป่าและหมอกควันในแง่ของพื้นที่ดำเนินงานและภารกิจ โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจวางแผนการจัดการไฟป่าของประเทศที่สำคัญมาเป็นเวลานานคือ NASA - The Land, Atmosphere Near real-time Capability for EOS (LANCE) Fire Information for Resource Management System (FIRMS) and Rapid Response ซึ่งภารกิจของศูนย์ฯ นี้หากสามารถช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันของประเทศได้ โดยสามารถช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ มีความน่าเชื่อถือ มีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการทำงานบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ไฟป่าและหมอกควันอย่างแท้จริงมากขึ้น
แต่เนื่องจากขอบเขตของศูนย์วิจัยไฟป่าฯ นี้จะครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนตอนบน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับเครือข่ายในหลายประเทศและเครือข่ายไฟป่าในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อม เช่น RECOFTC IUCN UNDP GFMC GFW UNISDR จะมีบทบาทอย่างมากทั้งในด้านของการเป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานในระดับภูมิภาค เป็นคู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน เป็นผู้ประสานกับเครือข่ายไฟป่าในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก รวมทั้งเป็นแหล่งฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของศูนย์ในอนาคต (ภาพที่ 2.)
ภาพที่ 2. . ความเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยในสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและองค์กรระหว่างประเทศ ที่จะข่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์วิจัยไฟป่าประจำภูมิภาคอาเซียนตอนบน
1. ประสานความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้เฉพาะทาง พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจไฟป่าและหมอกควันบนพื้นฐานศาสตร์และศิลป์ด้านไฟป่าและหมอกควันที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง 2. ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในเวทีโลกด้านไฟป่า ในฐานะที่เป็นศูนย์วิจัยไฟป่าในภูมิภาคอาเซียนตอนบน 3. ได้ผลงานวิชาการไฟป่าและหมอกควันที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชการการไฟป่า 4. ได้ระบบฐานข้อมูลไฟป่าและหมอกควันของไทยและภูมิภาคอาเซียนตอนบนที่ทันสมัย 5. ได้สร้างเครือข่ายการวิจัยและจัดการไฟป่าหมอกควันทั้งในระดับชาติ (ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ) และระดับนานาชาติ
1. ผศ.ดร. กอบศักดิ์ วันธงไชย 2. หัวหน้าประยูรยงค์ หนูไชยา 3. ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ 4. ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล 5. รศ.ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์
6. นายนรินทร์ จรูญรัตนพักตร์ 7. นางสาวชัชชญา บัวเนียม 8. นางสาวสุรางค์ พรประสิทธิ์ 9. นายสมคิด สิริรัตน์ 10. นายนพคุณ แก้วสิงห์